หอยแครงกับวันเชงเม้งขาดกันไม่ได้

🎉 เทศกาลเช้งเม้ง "หอยแครง" ของไหว้ที่แปลกจากเมนูอื่นๆ 🐚
ทำไมในช่วงเชงเม้งต้องมี หอยแครง ด้วย? 🤔
น่ำเอี๊ยงขอตอบหอยแครงถือเป็น อาหารมงคล ของคนจีนแต้จิ๋ว ที่มีชื่อเรียกที่หลากหลายเช่น 血蚶 อ่านว่า แฮวะห์ฮำ ห่วยะฮำ, 銀蚶 อ่านว่า เหง่งฮำ, และ 花蚶 ฮวยฮำ โดยที่แต่ละตัวอักษรนำหน้ามีความหมายดังนี้ 🌟
แฮวะห์ (血) หมายถึง โลหิตหรือเลือดสีแดงของหอยแครงเป็นสีมงคลของชาวจีน หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป 💖
เหง่ง (銀) หมายถึง เงินตรา เปรียบเป็นเปลือกหอยสีขาวเงิน แสดงถึง เงินตรา เมื่อโปรยลงไปแล้วก็เหมือนการมอบเงินตราแด่บรรพบุรุษไว้ใช้ในยมโลกเพื่อให้บรรพบุรุษอวยพรให้ลูกหลานร่ำรวย 💰
ฮวย (花) หมายถึง ดอกไม้ โดยที่ลวดลายเปลือกคล้ายกับดอกไม้ ที่เมื่อโปรยลงไปแล้วเปรียบดั่งอวยพรว่า “ขอให้เกิดความสดชื่นเบ่งบานตลอดไป” นั่นเอง 🌺

“ฮำ (蚶) ” แปลว่า หอย ฟ้องเสียกับคำว่า “ฮ้ำ (函) ” ที่หมายถึง รวม ชาวจีนแต้จิ๋วจึงตีความหมายรวมไปถึงการมารวมกันของลูกหลานเพื่อแสดงถึงความพร้อมหน้ากัน 💖

ความเชื่อโปรย"หอยแครง" ที่สุสาน 💐

เวลาไปเช็งเม้ง ให้นำหอยแครงลวกไปไหว้บรรพบุรุษ แล้วแกะเนื้อออก กินที่ฮวงซุ้ยนั้น
มีคำจีนที่เหล่าขานว่า "กุ๊กเน็กเซียงเกี่ยง" (骨肉相見) โดยที่
骨 (กุ๊ก) แปลว่า กระดูก 🦴 เปรียบเป็น บรรพชน
肉 (เน็ก) แปลว่า เนื้อ 🍖 เปรียบเป็น ลูกหลานที่ยังมีชีวิตอยู่
相見 (เซียงเกี่ยง) แปลว่า เจอกัน
มีความเชื่อที่ว่า หอยแครงมีกระดูก (เปลือกหอย) และเลือดเนื้อ อยู่รวมกันในตัวเองทั้งหมดมีหมายความว่า “ให้กระดูกและเนื้อเจอกัน” โดยที่กระดูกของพ่อแม่หรือบรรพบุรุษและเนื้อคือลูกหลาน เป็นการเปรียบเทียบ บรรพบุรุษและลูกหลานได้เจอกัน จากนั้นบรรพบุรุษก็จะอวยพรให้ลูกหลานโชคดี จึงเป็นค่านิยม นำหอยแครงมาเซ่นไหว้บรรพบุรุษในเทศกาลเช็งเม้ง เพื่อสื่อว่า ลูกหลานยังกตัญญูและให้สมัครสมานสามัคคีกัน มาเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา🌟

NumEiang

NumEiang